Pol Sci

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มคอ.3 รายวิชา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1 รหัสและชื่อรายวิชา
          รหัสวิชา 255120
          ชื่อวิชา  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
                     (Introduction to International Relations)
2  จำนวนหน่วยกิต
          3-0-6 (3 หน่วยกิต (
3   หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

 ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

 หมวดวิชาเฉพาะด้าน (กลุ่มวิชาแกน)

4 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
          อาจารย์ ธนันท์วัฒน์ สภานุรัตน์
5 ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
          ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2554
          ชั้นปี 1
6 รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)
     (ไม่มี)
7 รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)
     (ไม่มี)
8 สถานที่เรียน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

9 วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
          พ.ศ. 2554



หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1 จุดมุ่งหมายของรายวิชา
      นักศึกษาเข้าใจความรู้ทั่วไป พัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พฤติกรรมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การต่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและนานาชาติ วิเคราะห์แนวโน้มและปัญหาสถานการณ์การเมืองโลก   

2 วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
·       เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป พัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี ปัจจัย พฤติกรรม เครื่องมือของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
·       เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มทิศทางและปัญหาสถานการณ์การเมืองโลก
·       เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และวิเคราะห์เกี่ยวกับการต่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและนานาชาติ
·               เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่น อาทิเช่น ระบบการเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สงครามและสันติภาพ ประเด็นความมั่นคง การก่อการร้าย องค์กรระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ  


หมวดที่ 3 ส่วนประกอบของรายวิชา

1 คำอธิบายรายวิชา
         ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นปัจจัยในการกำหนดวามสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ เครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และแบบแผนในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน

2 จำนวนชั่วโมงที่ใช้/ภาคการศึกษา
บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย 45 ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษา
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะ
ไม่มีการฝึกปฏิบัติ
การศึกษาด้วยตนเอง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3 จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์จะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคล
·       อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
·       อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1 คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
·       มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
·       มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญได้
·       มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
·       มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 วิธีการสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้
·       เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและนักศึกษา และในหมู่นักศึกษาด้วยกันเอง
·       บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบ
·       กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่าง คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ในการหาแนวทางแก้ไข
1.3 วิธีการประเมินผล
·       พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
·       มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
·       ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
·       ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2 ความรู้
2.1 ความรู้ที่จะได้รับ
·       มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและเนื้อหาสาระสำคัญของรายวิชาที่เกี่ยวกับสาขาวิชารัฐศาสตร์ และหรือรัฐประศาสนศาสตร์
·       สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหาและนำความรู้ทางรัฐศาสตร์ และหรือรัฐประศาสนศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
·       สามารถบูรณาการในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลาที่นักศึกษาทำการศึกษาอยู่ในหลักสูตรและสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
2.2 วิธีการสอน
·       เน้นเรียนการสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
·       การทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย
·       มอบหมายให้อ่าน และศึกษาจากบทความ รวมถึงกรณีศึกษา
2.3  วิธีการประเมินผล
·       ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
·       กิจกรรมกลุ่ม กรณีศึกษา และการทำรายงาน
·       งานเดี่ยวรายงานการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ลักษณะรูปเล่มรายงาน
3 ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
·       มีความสามารถในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น
·       สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะตามกรอบทฤษฎี แนวคิด ประสบการณ์ และตัวอย่างที่ศึกษามาทำการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
3.2 วิธีการสอน
·       บรรยายเนื้อหารายวิชา
·       การทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย
·       มอบหมายให้อ่าน และศึกษาจากกรณีศึกษา
·       สอบกลางภาค สอบปลายภาค
3.3 วิธีการประเมินผลทักษะทางปัญญาของนักศึกษา
·       บรรยายเนื้อหารายวิชา
·       พัฒนาการทำงานกลุ่ม ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม
·       สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
·       มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างและหลากหลายได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
·       มีความเข้าใจผู้อื่นและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม
·       สามารถแก้ไขปัญหา หรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 วิธีการสอน
·       จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายงานรายกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย
4.3 วิธีการประเมิน
·       รายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
·       สอบกลางภาค สอบปลายภาค
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
·       มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·       สามารถสื่อสารแนะนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการพูดการเขียน ตลอดจนสามารถเลือกใช้สื่อและเครื่องมือในการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
·       สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสารและการสืบค้นได้อย่างดี
5.2 วิธีการสอน
·       จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายงานรายกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย เช่น การสร้างกระบวนการต่างๆ โดยเน้นการใช้ระบบสารสนเทศ ในการจัดการเรียนการสอนและการสืบค้นทั้งผู้สอนและผู้เรียน
5.3 วิธีการประเมินผล
·       รายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
·       สอบกลางภาค สอบปลายภาค


หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1 แผนการสอน

สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวน (ชม.)
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้
ผู้สอน
1
อธิบายแผนการสอนและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน
วิธีการเรียนการสอน
การประเมินและวัดผลการเรียน
แนะนำตำรา หนังสือ เอกสาร
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถาม และทำ..ข้อตกลง 
อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
2
บทนำ
ความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขต
ลักษณะ วิธีการศึกษา และระดับการวิเคราะห์ของ IR
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

. ดร. มาโนชญ์ อารีย์

3
พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ยุคอารยธรรมโลก 1000-2000
ยุคมหาอำนาจ 1500-2000
ยุคจักรวรรดินิยม 1500-2000
ยุคชาตินิยม 1500-2000
ยุคเศรษฐกิจโลก 1750-2000
ยุคสงครามโลก 1900-1950
ยุคสงครามเย็น 1945-1990
ยุคหลังสงครามเย็น หลัง1990
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
4
แนวคิดเกี่ยวกับ IR
สัจจนิยม อุดมคติ อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่รัฐ พหุนิยม สหพันธรัฐนิยม โครงสร้างนิยม ภาระนิยม การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สากลนิยม มาร์กซ์ ครองความเป็นเจ้า
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

. ดร. มาโนชญ์ อารีย์

5
ทฤษฎีเกี่ยวกับ IR
ระบอบ ระบบโลก ความมั่นคงร่วมกัน การตัดสินใจ กลยุทธ์ ดุลแห่งอำนาจ ดุลแห่งความหวาดกลัว ป้องปราม
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

. ดร. มาโนชญ์ อารีย์

6
ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลกระทบต่อ IR
ลัทธิและอุดมการณ์ อำนาจรัฐ ตัวแสดง
นโยบายต่างประเทศ ระบบระหว่างประเทศ การจัดระเบียบโลก และรัฐมหาอำนาจ
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
7
พฤติกรรมในรูปแบบต่างของ IR
ความร่วมมือ ความขัดแย้ง การรุกราน การก่อการร้าย สงครามจิตวิทยา สงครามตัวแทน สงครามเย็น สงครามระหว่างประเทศ
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
8
สอบกลางภาค
9
เครื่องมือต่างๆ ใน IR
IOs  กฎหมายระหว่างประเทศ ข้อตกลงและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ การทูต เครื่องมือทางจิตวิทยา การทหาร และสื่อสารมวลชน
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

. ดร. มาโนชญ์ อารีย์

10
นโยบายการต่างประเทศของไทย
ปัจจัยที่กำหนดนโยบายการต่างประเทศของไทย
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
11
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนานาชาติ
เอเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป สหรัฐอเมริกา
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
12
วิเคราะห์แนวโน้มและปัญหาของสถานการณ์ IR ในอนาคต
วิเคราะห์แนวโน้ม และปัญหาของ IR ในอนาคต
3
ฟังการบรรยายเปิดโอกาสให้น ซักถามและร่วม..อภิปราย

. ดร. มาโนชญ์ อารีย์
อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
13
นักศึกษานำเสนอรายงาน(รายกลุ่ม)ตามที่ผู้สอนมอบหมาย
3
นักศึกษาเลือกสื่อ นำเสนอหน้าชั้นเรียน(กิจกรรมกลุ่ม)
. ดร. มาโนชญ์ อารีย์
อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
14
นักศึกษานำเสนอรายงาน(รายกลุ่ม)ตามที่ผู้สอนมอบหมาย
3
นักศึกษาเลือกสื่อ นำเสนอหน้าชั้นเรียน(กิจกรรมกลุ่ม)
. ดร. มาโนชญ์ อารีย์
อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
15
สรุปเนื้อหา การเรียนการสอน และแนะแนวการสอบปลายภาค
3
บรรยาย อภิปรายร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
. ดร. มาโนชญ์ อารีย์
อ.ณัฐชนน
สภานุรัตน์
16
จัดสอบปลายภาค

รวม
45




2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้*
กิจกรรมการประเมิน (เช่น การเขียนรายงาน โครงงาน การสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค)
กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)
สัดส่วนของการประเมินผล


ทดสอบย่อย
สอบกลางภาค
สอบปลายภาค
6, 11
9
16
70%

การเข้าชั้นเรียน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นใน
ชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
10%

วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน
การทำงานกลุ่มและผลงาน
การอ่านและสรุปบทความ

20%
* ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1 ตำราและเอกสารหลักที่กำหนด
Goldstein J. S., International Relations. Third Edition. New York: Longman. 1999
2 เอกสารและข้อมูลสำคัญ
ใช้แหล่งเดียวกันกับตำราและเอกสารหลัก
3        เอกสารและข้อมูลแนะนำ
ใช้แหล่งเดียวกันกับตำราและเอกสารหลัก

หมวดที่ 7 การประเมินรายวิชาและกระบวนการปรับปรุง

1 กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลโดยนักศึกษา
·       การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
·       การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน
·       แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2 กลยุทธ์การประเมินการสอน
·       การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
·       ผลการสอบ
·       การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3 การปรับปรุงการสอน
·       สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
4 การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
·       มีการตั้งคณะกรรมการในหลักสูตร ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5 การดำเนินการทบทวนและวางแผนการปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
·       ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น