Pol Sci

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

การบ้านวิชา การเมืองเปรียบเทียบ ของนักศึกษารัฐาศาสตร์ ปี 2

การเมืองการปกครองของสหราชอาณาจักร
1. ข้อมูลทั่วไป
http://www.mediafire.com/view/?p5zll2xd9l59z5l
2. ประวัติศาสตร์
http://www.mediafire.com/view/?d1zd57ri660t65x
3. การเมืองการปกครอง
http://www.mediafire.com/view/?63ci4i3k9dilbat


การเมืองการปกครองของจีน

1. ข้อมูลทั่วไป
http://www.mediafire.com/view/?icfojhrccoc0t4r
2. ประวัติศาสตร์
http://www.mediafire.com/view/?qfe1b31db66urbf
3. การเมืองการปกครอง
http://www.mediafire.com/view/?f81b2i846ch9044

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานะใหม่ของปาเลสไตน์ในสหประชาชาติกับผลที่จะได้รับ


สมหวังเป็นที่เรียบร้อยสำหรับปาเลสไตน์ในการขอการรับรองสถานะของรัฐสังเกตการณ์ที่ไม่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ (non-member observer state) ด้วยคะแนนโหวตท่วมท้น สนับสนุน 138 คัดค้าน 9 งดออกเสียง 41 ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อันถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในทางการทูต แต่ผลที่จะเกิดขึ้นกับสภาพชีวิตและสันติภาพในดินแดนปาเลสไตน์นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเป็นที่ติดตามกันต่อไปว่าความสำเร็จครั้งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในการยอมรับให้ปาเลสไตน์เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติอย่างสมบูรณ์ได้หรือไม่ และจะมีผลกระทบอย่างไรต่อสถานะและท่าทีของอิสราเอลหลังจากนี้

รวันดา: ภายใต้อาณานิคม : บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย* (4)


ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาช่องทางทำการค้าในทวีปต่างๆทั่วโลก  ซึ่งแอฟริกาก็เป็นพื้นอีกที่หนึ่งที่หลายๆประเทศต้องการเข้ามาครอบครอง จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 บางประเทศในทวีปยุโรปได้ตัดสินใจทุ่มเทไปกับการเข้าควบคุมอำนาจทางการเมืองในแอฟริกา  ผู้นำยุโรปและพ่อค้าวาณิชทั้งหลายเชื่อว่าแอฟริกาน่าจะเป็นแหล่งระบายสินค้าสำหรับส่งออกได้อย่างดี พร้อมกับเป็นแหล่งดูดซับทรัพยากรกลับประเทศของตน ในครั้งนั้น ทั้งสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี โปรตุเกส สเปน และเยอรมันต่างก็แย่งชิงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อมีอำนาจเหนือภูมิภาคแห่งนี้
ดินแดนที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของแอฟริกาตะวันออกของภูมิภาคซึ่งได้รวมอาณาเขตของรวันดาในปัจจุบันและเบอรันดีรวมเป็นหนึ่งในดินแดนสุดท้ายของทวีปแอฟริกาที่ดึงดูดนักสำรวจชาวยุโรปให้เข้ามา ดินแดนบริเวณนี้แม้ไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเลและพื้นที่ก็เต็มไปด้วยภูเขาจำนวนมากที่ยังเขียวชอุ่ม แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การปกครองของภูมิภาคนี้โดยชาวตุ๊ดซี่เป็นอาวุธสำคัญในการป้องกันการครอบงำของยุโรปเพราะมีความซับซ้อน ซึ่งชาวยุโรปพบว่าเป็นการยากที่จะเข้าไปในดินแดนนี้ ในช่วงทศวรรษที่ 1800 นักสำรวจชาวอังกฤษหลายคนเดินทางเข้าไปในแถบชนบทซึ่งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรวันดาในเวลาต่อมา จนกระทั่งปี 1894 นักสำรวจชาวเยอรมันชื่อ เคานท์ วอน กอทเซน ได้เข้าไปสำรวจบริเวณศูนย์กลางของภูมิภาคแห่งนี้  หลังจากนั้นยุโรปจึงเริ่มเข้ายึดครอง

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อนุรักษ์กับทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย

การเสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาในระบอบประชาธิปไตยวันที่24 พ.ย.2555 ที่ ร้าน Book Re:public โดยมีผู้ร่วมเสวนา 2 ท่าน ได้แก่ "ศศิน เฉลิมลาภ" และ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ได้เกิดกรณีประเด็นที่น่าสนใจระหว่างนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยเฉพาะประเด็นการเมืองและความเท่าเทียมของประชน 
ซึ่งท่านผู้สนใจสามารถรับชมวิดีทัศน์การเสวนาตาม Link ที่ปรากฏด้านล่าง ดังนี้


ศศิน เฉลิมลาภ (ซ้าย) และ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ขวา)
ที่มาของรูปภาพ : ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=1596

ตอนที่ 1
http://www.mediafire.com/?bfglow5ts0ar6b4
ตอนที่ 2
http://www.mediafire.com/?lslvtf4heml5sa3
ตอนที่ 3
http://www.mediafire.com/?woh13ca391ethud
ตอนที่ 4
http://www.mediafire.com/?b4wpdv42b13pk2v



ที่มา
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44154


รวันดา รากเหง้าของความขัดแย้ง: บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย* (3)


น้อยคนนักที่จะรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของชนเผ่าที่กลายเป็นประชาชนของรวันดาในยุคปัจจุบัน เป็นเวลาหลายพันปีประชากรชาวแอฟริกันต่างชนเผ่าได้อพยพเข้าและออกภูมิภาคแห่งนี้  แต่เมื่อศตวรรษที่ 15 บรรพบุรุษของประชากรในยุคปัจจุบันได้เริ่มตั้งรกรากถิ่นฐานในภูมิภาคนี้อย่างถาวร
ชาวทวา เป็นนักล่าสัตว์และนักเก็บของป่า     ซึ่งดำรงชีวิตจากการอาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์และพืชในภูมิภาคป่ารกขึ้นหน้าแน่น ชาวฮูตูดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำเกษตรกรรม ครอบครัวชาวฮูตูอาศัยและเพาะปลูกในพื้นที่บางส่วนของประเทศเป็นหลักแหล่ง ทำการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในครอบครัวเป็นหลักเท่านั้น ชาวตุ๊ดซี่เป็นนักเลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ จึงไม่ได้มีถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร แต่จะอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆเพียงชั่วคราว เมื่อทุ่งเลี้ยงสัตว์ถูกใช้เลี้ยงสัตว์จนหมดประโยชน์แล้วชาวตุ๊ดซี่  ก็จะย้ายไปหาหลักแหล่งแห่งใหม่  พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนนี้บีบคั้นให้ชายชาวตุ๊ดซี่แข็งแกร่งกลายเป็นนักรบ เพราะว่าจำเป็นต้องมีความสามารถในการต่อสู้  เพื่อปกป้องฝูงสัตว์  ปกป้องครอบครัว และปกป้องชุมชน  เมื่อพวกเขาได้เคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในดินแดนแห่งใหม่

รวันดา อำนาจทางการเมืองกับวิกฤตด้านมนุษยธรรม (2)


สงครามกลางเมือง
จุดกำเนิดของความขัดแย้งระหว่างสองชาติพันธุ์ ได้ฝังรากลึกในประวัติศาสตร์รวันดามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงระหว่างปี 1959 ถึง 1973 ชาวตุ๊ดซี่หลายพันคนถูกเนรเทศออกจากประเทศ โดยรัฐบาลที่มีชาวฮูตูเป็นผู้นำ ประชาชนที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศนี้รู้จักในชื่อว่า Banyarwanda ซึ่งแปลว่า “ประชาชนชาวรวันดา” (ภาษาเคินยารวันดา) คนเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อูกันดา เบอรันดี และแทนเซเนีย การเนรเทศชาวตุ๊ดซี่ นับเป็นสาเหตุหลักของสงครามกลางเมืองได้ถือกำเนิดในปี 1990