วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) - Order - Request for the Indication of Provisional Measures
Thai-Cambodia Border Disputed
XINHUA News http://news.xinhuanet.com/english2010/world/2011-07/20/c_13997292.htm
CNN http://edition.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/07/18/cambodia.thailand.temple.dispute/index.html?iphoneemail
Al Jazeera http://english.aljazeera.net/news/asia-pacific/2011/07/20117185450895273.html
BBC http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-14181906 >
CNN http://edition.cnn.com/2011/
Al Jazeera http://english.aljazeera.net/
BBC http://www.bbc.co.uk/news/
วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับ
การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อ. ธนันท์วัฒน์ สภานุรัตน์
ส่วนที่ 1
ความเป็นมา
การมีส่วนร่วมของประชาชน อาจเป็นคำที่ประชาชนคนไทยเริ่มคุ้นหูก่อนปี พ.ศ. 2540 ไม่นานนัก เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนแสดงความคิดเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2540 ท้ายที่สุดร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา และถูกนำมาใช้เป็นกฎหมายแม่บทของประเทศไทยต่อมา สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ตั้งแต่เจตนารมณ์จนถึงหมวดต่างๆ ของรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ให้รัฐต้องให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน เช่น
หมวด 1 บททั่วไป “มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” หรือ
หมวด 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น “มาตรา 282 ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น” หรือ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
หมวด 4 มาตรา 30 (4) “กำหนดการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุน และรายได้อื่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม โดยในช่วงระยะเวลาไม่เกิน พ.ศ. 2544 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ และในช่วงระยะเวลาไม่เกินพ.ศ. 2549 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้า ทั้งนี้ โดยการเพิ่มสัดส่วนตามระยะเวลาที่เหมาะสมแก่การพัฒนา ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจกรรมการบริการสาธารณะได้ด้วยตนเอง และโดยการจัดสรรสัดส่วนที่เป็นธรรมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย”
จากมาตรา 30 (4) นั้น หมายความว่า รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวอย่าง งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2549 มีจำนวนกว่า 1,000,000 ล้านบาท นั่นหมายถึง รัฐต้องจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2549 จำนวนไม่น้อยกว่า 35,000 ล้านบาทให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แต่ปัจจุบันมาตราดังกล่าวถูกแก้ไขตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา (หน้า 3-4)
ถึงแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2540 ได้ถูกยกเลิกจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยาน 2549 ไปแล้วก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2550 เอง ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองทั้งในระดับชาติ ได้แก่ สมาชกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) หรือการปกครองระดับท้องถิ่น เช่น การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีความหมายเฉพาะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนยังหมายรวมถึง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารไปจนถึงการร่วมตัดสินใจและการตรวจสอบการทำงานของรัฐอีกประการหนึ่งด้วย ดังที่จะได้กล่าวต่อไป
*****************************************************************************************************************
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน
มคอ.3 รายวิชา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
|
วิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตร์
|
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1 รหัสและชื่อรายวิชา
รหัสวิชา 2551201
ชื่อวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(Introduction to International Relations)
|
2 จำนวนหน่วยกิต
3-0-6 (3 หน่วยกิต (
|
3 หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หมวดวิชาเฉพาะด้าน (กลุ่มวิชาแกน) |
4 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อาจารย์ ธนันท์วัฒน์ สภานุรัตน์
|
5 ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2554
ชั้นปี 1
|
6 รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)
(ไม่มี)
|
7 รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)
(ไม่มี)
|
8 สถานที่เรียน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
9 วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
พ.ศ. 2554
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)