Pol Sci

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานะใหม่ของปาเลสไตน์ในสหประชาชาติกับผลที่จะได้รับ


สมหวังเป็นที่เรียบร้อยสำหรับปาเลสไตน์ในการขอการรับรองสถานะของรัฐสังเกตการณ์ที่ไม่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ (non-member observer state) ด้วยคะแนนโหวตท่วมท้น สนับสนุน 138 คัดค้าน 9 งดออกเสียง 41 ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อันถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในทางการทูต แต่ผลที่จะเกิดขึ้นกับสภาพชีวิตและสันติภาพในดินแดนปาเลสไตน์นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเป็นที่ติดตามกันต่อไปว่าความสำเร็จครั้งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในการยอมรับให้ปาเลสไตน์เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติอย่างสมบูรณ์ได้หรือไม่ และจะมีผลกระทบอย่างไรต่อสถานะและท่าทีของอิสราเอลหลังจากนี้

รวันดา: ภายใต้อาณานิคม : บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย* (4)


ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาช่องทางทำการค้าในทวีปต่างๆทั่วโลก  ซึ่งแอฟริกาก็เป็นพื้นอีกที่หนึ่งที่หลายๆประเทศต้องการเข้ามาครอบครอง จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 บางประเทศในทวีปยุโรปได้ตัดสินใจทุ่มเทไปกับการเข้าควบคุมอำนาจทางการเมืองในแอฟริกา  ผู้นำยุโรปและพ่อค้าวาณิชทั้งหลายเชื่อว่าแอฟริกาน่าจะเป็นแหล่งระบายสินค้าสำหรับส่งออกได้อย่างดี พร้อมกับเป็นแหล่งดูดซับทรัพยากรกลับประเทศของตน ในครั้งนั้น ทั้งสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี โปรตุเกส สเปน และเยอรมันต่างก็แย่งชิงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อมีอำนาจเหนือภูมิภาคแห่งนี้
ดินแดนที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของแอฟริกาตะวันออกของภูมิภาคซึ่งได้รวมอาณาเขตของรวันดาในปัจจุบันและเบอรันดีรวมเป็นหนึ่งในดินแดนสุดท้ายของทวีปแอฟริกาที่ดึงดูดนักสำรวจชาวยุโรปให้เข้ามา ดินแดนบริเวณนี้แม้ไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเลและพื้นที่ก็เต็มไปด้วยภูเขาจำนวนมากที่ยังเขียวชอุ่ม แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การปกครองของภูมิภาคนี้โดยชาวตุ๊ดซี่เป็นอาวุธสำคัญในการป้องกันการครอบงำของยุโรปเพราะมีความซับซ้อน ซึ่งชาวยุโรปพบว่าเป็นการยากที่จะเข้าไปในดินแดนนี้ ในช่วงทศวรรษที่ 1800 นักสำรวจชาวอังกฤษหลายคนเดินทางเข้าไปในแถบชนบทซึ่งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรวันดาในเวลาต่อมา จนกระทั่งปี 1894 นักสำรวจชาวเยอรมันชื่อ เคานท์ วอน กอทเซน ได้เข้าไปสำรวจบริเวณศูนย์กลางของภูมิภาคแห่งนี้  หลังจากนั้นยุโรปจึงเริ่มเข้ายึดครอง

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อนุรักษ์กับทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย

การเสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาในระบอบประชาธิปไตยวันที่24 พ.ย.2555 ที่ ร้าน Book Re:public โดยมีผู้ร่วมเสวนา 2 ท่าน ได้แก่ "ศศิน เฉลิมลาภ" และ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ได้เกิดกรณีประเด็นที่น่าสนใจระหว่างนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยเฉพาะประเด็นการเมืองและความเท่าเทียมของประชน 
ซึ่งท่านผู้สนใจสามารถรับชมวิดีทัศน์การเสวนาตาม Link ที่ปรากฏด้านล่าง ดังนี้


ศศิน เฉลิมลาภ (ซ้าย) และ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ขวา)
ที่มาของรูปภาพ : ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=1596

ตอนที่ 1
http://www.mediafire.com/?bfglow5ts0ar6b4
ตอนที่ 2
http://www.mediafire.com/?lslvtf4heml5sa3
ตอนที่ 3
http://www.mediafire.com/?woh13ca391ethud
ตอนที่ 4
http://www.mediafire.com/?b4wpdv42b13pk2v



ที่มา
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44154


รวันดา รากเหง้าของความขัดแย้ง: บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย* (3)


น้อยคนนักที่จะรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของชนเผ่าที่กลายเป็นประชาชนของรวันดาในยุคปัจจุบัน เป็นเวลาหลายพันปีประชากรชาวแอฟริกันต่างชนเผ่าได้อพยพเข้าและออกภูมิภาคแห่งนี้  แต่เมื่อศตวรรษที่ 15 บรรพบุรุษของประชากรในยุคปัจจุบันได้เริ่มตั้งรกรากถิ่นฐานในภูมิภาคนี้อย่างถาวร
ชาวทวา เป็นนักล่าสัตว์และนักเก็บของป่า     ซึ่งดำรงชีวิตจากการอาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์และพืชในภูมิภาคป่ารกขึ้นหน้าแน่น ชาวฮูตูดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำเกษตรกรรม ครอบครัวชาวฮูตูอาศัยและเพาะปลูกในพื้นที่บางส่วนของประเทศเป็นหลักแหล่ง ทำการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในครอบครัวเป็นหลักเท่านั้น ชาวตุ๊ดซี่เป็นนักเลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ จึงไม่ได้มีถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร แต่จะอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆเพียงชั่วคราว เมื่อทุ่งเลี้ยงสัตว์ถูกใช้เลี้ยงสัตว์จนหมดประโยชน์แล้วชาวตุ๊ดซี่  ก็จะย้ายไปหาหลักแหล่งแห่งใหม่  พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนนี้บีบคั้นให้ชายชาวตุ๊ดซี่แข็งแกร่งกลายเป็นนักรบ เพราะว่าจำเป็นต้องมีความสามารถในการต่อสู้  เพื่อปกป้องฝูงสัตว์  ปกป้องครอบครัว และปกป้องชุมชน  เมื่อพวกเขาได้เคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในดินแดนแห่งใหม่

รวันดา อำนาจทางการเมืองกับวิกฤตด้านมนุษยธรรม (2)


สงครามกลางเมือง
จุดกำเนิดของความขัดแย้งระหว่างสองชาติพันธุ์ ได้ฝังรากลึกในประวัติศาสตร์รวันดามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงระหว่างปี 1959 ถึง 1973 ชาวตุ๊ดซี่หลายพันคนถูกเนรเทศออกจากประเทศ โดยรัฐบาลที่มีชาวฮูตูเป็นผู้นำ ประชาชนที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศนี้รู้จักในชื่อว่า Banyarwanda ซึ่งแปลว่า “ประชาชนชาวรวันดา” (ภาษาเคินยารวันดา) คนเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อูกันดา เบอรันดี และแทนเซเนีย การเนรเทศชาวตุ๊ดซี่ นับเป็นสาเหตุหลักของสงครามกลางเมืองได้ถือกำเนิดในปี 1990

รวันดา: สภาพปัญหาและความขัดแย้ง (1)


เรื่องชุด รู้จักลึกๆ  'รวันดา' บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย ที่ศึกษาโดยธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ นักวิชาการอิสระเศรษฐศาสตร์การเมือง เครือข่ายเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยจะทยอยนำเสนอทั้งสิ้น 10 ตอน 

บทนำ

รวันดา หรือ สาธารณรัฐรวันดา ( Republic of Rwanda) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกของประเทศอยู่ติดกับทะเลสาบเกรตเลกส์ (Great Lakes) รวันดาเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณระหว่างตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขตติดต่อกับยูกันดาทางตอนเหนือ บุรุนดีทางตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (แซร์: 1971-1997) ทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนถึงตะวันตก และแทนซาเนียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไล่ขึ้นมาถึงทางตะวันออก รวันดามีลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ปกคลุมไปด้วยภูเขามากที่สุดในทวีปแอฟริกา พื้นที่บางส่วนเป็นภูเขาที่มีความสูงถึง 14,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้ได้สมญานามจากเบลเยียม เจ้าอาณานิคมเก่าว่าเป็น “ดินแดนแห่งเขาพันลูก” รวันดา เป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดในแอฟริกา มีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตารางไมล์ ซึ่งเทียบได้กับขนาดของมลรัฐ Maryland สหัฐอเมริกา แต่ด้วยประชากร 8 ล้านคน ทำให้มีประชากรมากกว่ามลรัฐ Maryland ถึงสองเท่า
รวันดาก็เป็นแผ่นดินที่มีความหลากหลายทุกๆด้าน ภูมิประเทศในฝั่งตะวันตกของประเทศเต็มไปด้วยป่าฝน ภูเขาไฟ หุบเขาสูง ภูเขาที่มีสันคมมีเชิงเขาลาดเอียงทอดแนวคล้ายผ้าห่มยาวตลอดถึงภูมิภาคส่วนกลางของประเทศ หลายพื้นที่มีการปลูกกล้วยและยูคาลิปตัส ส่วนพื้นที่แถบฝั่งตะวันออกมีลักษณะเป็นบึงใหญ่ ทะเลสาบและที่ราบทุ่งหญ้า การที่ภูมิภาคแห่งนี้มีทั้งทะเลสาบขนาดใหญ่และเล็กในทางตะวันออกของแอฟริกาเป็นจำนวนมาก ภูมิภาคนี้จึงถูกเรียกว่า “the Great Lakes Region”

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ของประเทศจีน

ธราธร รัตนนฤมิตศร

ประเทศจีนได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 12 (2554-2558) เพื่อกำหนดทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจจีนในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Stephen S. Roach (2011) “China’s 12th Five-Year Plan: Strategy vs. Tactics  Morgan Stanley)  โดยในอดีต รัฐบาลจีนมุ่งเน้นรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักและการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งถือว่าจีนประสบความสำเร็จมากมาโดยตลอดการขยายตัวในอัตราเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าตัวเลข 2 หลัก อย่างไรก็ตาม ในด้านคุณภาพการพัฒนาเศรษฐกิจยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะปัญหาการกระจายรายได้และปัญหาสิ่งแวดล้อม 

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นิธิ เอียวศรีวงศ์: เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการจำนำข้าว (อีกที)


นิธิ เอียวศรีวงศ์
ผมถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บทความของผมได้รับการวิจารณ์จากนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงสองท่าน คือท่านอาจารย์นิพนธ์ พัวพงศกร และท่านอาจารย์อัมมาร สยามวาลา หลังจากใคร่ครวญแล้ว ผมคิดว่าควรตอบการวิจารณ์ เพราะหนึ่งเป็นการให้เกียรติแก่ความเห็นของท่านทั้งสอง และสอง นโยบายรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงเป็นนโยบายหลักอันหนึ่งของรัฐบาล และน่าจะมีผลกระทบต่อไปในภายหน้าหลายด้าน สมควรที่คนไทยจะสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการถกเถียงพินิจพิเคราะห์นโยบายนี้

ผมไม่ต้องใช้ความกล้าหาญอะไรในการเสนอเปลี่ยนประเทศไทย เพราะข้อเสนอของผมไม่ได้ตั้งอยู่บนอำนาจ เป็นความเห็นของพลเมืองคนหนึ่ง ที่จริงประเทศไทยถูกเปลี่ยนมาไม่รู้จะกี่ครั้งแล้ว ซ้ำเป็นการเปลี่ยนด้วยอำนาจ ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายก็บ่อยครั้ง เรื่องนี้ก็แล้วแต่จะมองว่าความเสียหายพึงวัดด้วยอะไรได้บ้าง เช่น พัฒนาประเทศโดยไม่พัฒนาคน ทำให้เราอาจมาถึงทางตันที่ก้าวต่อไปไม่ได้ (ซึ่งเรียกกันว่ากับดักของเศรษฐกิจที่มีรายได้ปานกลาง) หนึ่งหรือสองชั่วอายุคนที่หายไปเปล่าๆ นี้ คิดเป็นค่าสูญเสียโอกาสสักกี่พันกี่แสนล้าน ผมก็คิดไม่เป็น

ลำดับของประเทศไทย ปี 2012

สถาบันเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจและสันติภาพในสหรัฐอเมริกา ให้ไทยอยู่อันดับ 8 ก่อการร้าย องค์กรเพื่อความโปร่งใส จัดอันดับคอร์รัปชั่นไทยแย่หล่นจาก 80 มาที่ 88 สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐให้ไทยลำดับ 114 ประเทศอายุยืน

มหาดไทยออกหลักเกณฑ์ใหม่ให้สัญชาติบุตรของบุคคลไม่มีสัญชาติไทย

รมว.มหาดไทยออกประกาศให้บุตรของผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป ครอบคลุมคนไทยพลัดถิ่น จนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ 14 กลุ่ม คนไร้รากเหง้าซึ่งเกิดเมืองไทย อยู่มานาน เรียนหนังสือไทย ประกอบอาชีพสุจริต และให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะแก่บุตรของบุคคลต่างด้าวที่มีผลงาน และสาขาที่ขาดแคลน

อ่านเพิ่มเติม
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44032

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จีนส่งสัญญาณแก้ปัญหาทะเลจีนใต้เอง ไม่ต้องให้อาเซียนช่วย


นายเฉิน เป่าเซิง รองอธิการบดี สถาบันการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุ จีนไม่ได้เป็นผู้จุดชนวนความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ส่งสัญญาณไม่ต้องการอาเซียนร่วมแก้ปัญหา พร้อมย้ำจีนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง

เสวนา: ทิศทางจีนหลังผลัดผู้นำพรรค


ทัศนะจากรองอธิการบดี สถาบันการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน และ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ สถาบันการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุผลการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 18 แนวทางจีนไม่เปลี่ยนแปลง
วันที่ 1 ธ.ค. 2555 ที่ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมเดอะสุโกศล สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ พรรคคอมมิวนิสต์จีนแห่งประเทศจีน, มูลนิธิสถาบันสราญรมย์, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงนานาชาติ ร่วมจัดการเสวนา “มังกรพลิกกาย...ท่วงท่าใหม่ที่ไทยควรรู้”

อ่านเพิ่มเติม http://www.prachatai.com/journal/2012/12/43991