Pol Sci

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาธิปไตยแท้จริง คืออะไร

ประชาธิปไตยแท้จริง คืออะไร

ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองของคนไทยในขณะนี้ คนไทยถูกแบ่งออกฝักเป็นฝ่าย เช่น ฝ่ายแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือฝ่ายเสื้อเหลือง, เสื้อแดง, เสื้อขาว และเสื้อดำนั่น ทุกฝ่ายล้วนอ้างคำสำคัญเพียงถ้อยคำเดียว ได้แก่ ประชาธิปไตย

แนวการสอน รายวิชา เหตุการณ์โลกร่วมสมัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


แนวการสอน

รหัสวิชา 2500115 ชื่อวิชา (ภาษาไทย) เหตุการณ์โลกร่วมสมัย
(ภาษาอังกฤษ) Contemporary World Affairs

ภาคเรียนที่.1 .ปีการศึกษา..2554 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ธนันท์วัฒน์ สภานุรัตน์

สันติวิธีของคนกรุงเทพฯเป็นเรื่องเหลวไหลและใจแคบ

สันติวิธีของคนกรุงเทพฯเป็นเรื่องเหลวไหลและใจแคบ
การที่คนกรุงเทพฯ กลุ่มหนึ่งคิดว่ารักสันติ จนถือดีมาบอกว่า คนเสื้อแดงคนอื่นๆ ที่มาชุมนุมไม่ใช่คนไทย
นี่มันคือการดูถูกความเป็นมนุษย์ของเขาอย่างถึงที่สุด ความเป็นคนไทยมันอยู่ที่ตัวตนของคนเรา
มันไม่ได้อยู่ที่การที่เขามีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกับคนกรุงเทพฯ
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

พิณผกา: วันนี้เราจะพูดถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่วันข้างหน้า คือ วันที่ 12- 14 มีนาคมนี้ ซึ่งคนเสื้อแดงก็จะออกมาชุมนุมโดยที่มีข้อเรียกร้องหลักก็คือ ให้รัฐบาลยุบสภาแต่ในขณะเดียวกัน กระแสสังคมและภาพในสื่อกระแสหลักจะสะท้อนมุมมองของคนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อย ที่ออกมาแสดงความวิตกกังวลในเรื่องความรุนแรง ประชาไทใส่เสียงพูดคุยกับคุณศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ เป็นนักวิชาการอิสระ ซึ่งมีผลงานผ่านทางเว็บไซต์ประชาไท เป็นทั้งบทความและบทสัมภาษณ์ รวมถึงมีผลงานแปลคือ รัฐศาสตร์ไม่ฆ่าและผลงานเขียนคือหนังสือชื่อ ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเราศิโรตม์สอนทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ให้กับโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และวิชาการเมืองและสังคมไทยสมัยใหม่ให้กับโครงกรสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

…………………………………………

ฉลาดและดี: การศึกษาและศีลธรรมของคนชั้นกลางไทย

ฉลาดและดี: การศึกษาและศีลธรรมของคนชั้นกลางไทย

ฉลาดและดี: การศึกษาและศีลธรรมของคนชั้นกลางไทย
(ฉลาดที่สุดและดีที่สุด: ปัญญาญาณและภูมิธรรมของคนชั้นอาวุโสไทย)
มุกหอม วงษ์เทศ
ถ้าทฤษฎีฝรั่งพื้นๆ แบบนี้เป็นความจริง เราก็น่าจะอนุมานได้ว่า คนที่รังเกียจคุณค่าแบบเสรีนิยมและประชาธิปไตยมีแนวโน้มจะเป็นคนที่มีการศึกษาต่ำ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทที่ 2

บทที่ 2

วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


         เมื่อกล่าวถึงสหัศตวรรษใหม่นี้จะพบว่ามีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 ที่ถูกครอบงำด้วยสงครามโลกและสงครามเย็น ปัจจุบันสิ่งที่ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัด คือ การรวมตัวของสังคมชุมชนระหว่างประเทศทั้งด้านบวกและด้านลบ หากแต่การเปลี่ยนแปลงนี้มิได้เกิดแต่โดยลำพัง เหตุการณ์ทั้งหลายมักมีการเชื่อมโยงจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หลักการและโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เช่นกันล้วนเกิดขึ้นมาจากรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยเหมือนกัน สำหรับวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะที่ยาวนาน และสามารถอธิบายได้เป็นช่วงๆ ดังนี้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทที่ 1

บทที่ 1

บทนำ


         คำกล่าวของอริสโตเติ้ล (Aristotle) นักปราญช์ชาวกรีกโบราณเมื่อ 400 – 300 ปีก่อนคริสตกาล ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” นั้น (Wikipedia, 2011) ย่อมแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพังได้ มนุษย์ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือสร้างความเจริญต่างๆ ในสังคม นอกเหนือจากการติดต่อกันระหว่างมนุษย์ภายในกลุ่ม หรือสังคมเดียวกันแล้ว ตั้งแต่ยุคอารยธรรมโบราณ มนุษย์ยังติดต่อสื่อสารและสร้างสายสัมพันธ์สมาคมกับสังคมอื่นๆ เช่นที่ปรากฎในอารยธรรมจีนโบราณ ตามเส้นทางสายไหมหรือเส้นทางแพรไหม (Silk Road) ชาวจีนได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ โดยใช้เส้นทางทางบกในการเดินทางผ่านประเทศต่างๆ ไปยังเอเชียกลางจนไปสิ้นสุดที่ยุโรป และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพียงมิติทางการค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังปรากฎในมิติอื่นๆ เช่น การทูต การเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม นอกจากนี้ อาเธอร์ เอ. นัสบัม (Arthur A. Nussbaum) และ แฟรงค์ ดับเบิ้ลยู รัสเซล (Frank W. Russell) กล่าวว่า มนุษย์ได้เขียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นระยะเวลากว่าสี่พันปี (ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ, 2542, หน้า 7)
          หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านความรู้ทั่วไป แนวคิด ทฤษฎี ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ พฤติกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์ การต่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับรัฐชาติต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น และบทสุดท้ายผู้เขียนได้วิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคตไว้อีกด้วย